วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเย็บผ้าด้วยมือ

การเย็บผ้าด้วยมือ

การเนาผ้า



การเนา   เป็นการเย็บผ้าด้วยมือให้ติดกันชั่วคราวเพื่อการเย็บถาวรหรือการสอยเช่นการเนาตะเข็บการเนาชายเสื้อและชายกระโปรงเนากระเป๋าให้ติดกับตัวเสื้อเป็นต้นการเนามีหลายชนิดแต่ละชนิดมีประโยชน์และการใช้งานแตกต่างกันการเนาส่วนใหญ่ทำจากขวาไปซ้ายเพราะคนทั่วไปถนัดขวา 
 
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเนาผ้า
1 กรรไกร
2 เข็มมุด
3 เข็ม
4 ด้าย
5 เศษผ้า

ขั้นตอนการเนาผ้า
1. ใช้เข็มร้อยด้ายผูกปมยาวพอสมควร   แทงเข็มขึ้น และลงบนผ้าระยะเสมอกัน เป็นแนวตรง    ระยะห่างพอสมควร 
2. ดึงด้ายขึ้นแล้วเย็บต่อไปเหมือนเดิมจนเสร็จ

ประโยชน์ของการเนาผ้า
1. เป็นการเย็บผ้าให้ติดกันชั่วคราวไม่ให้ผ้าเคลื่อนที่
2. ช่วยในการเย็บตะเข็บถาวรให้ง่ายขึ้น เมื่อเย็บตะเข็บเรียบร้อยแล้วจึงเลาะด้ายที่เนาออก
3. เนาเพื่อทำเครื่องหมายในการเย็บ
4. เนาเพื่อให้เกิดการรูดจีบ 

การเนาเท่ากัน คือ การเย็บด้วยมือที่ช่วยยึดผ้า 2 ชิ้นหรือมากกว่าให้ติดกัน มีความถี่ห่างของฝีเข็มเสมอกันทั้งด้านบนและด้านล่าง ฝีเข็มห่างประมาณ 1/4 ถึง 1/2 นิ้ว ซึ่งถ้าเนาห่างกว่านี้จะไม่สามารถบังคับผ้าทั้ง 2 ชิ้นให้อยู่คงที่ได้ การเนาเท่ากันเหมาะสำหรับเนาตะเข็บ ก่อนเย็บเนาชายเสื้อและชายกระโปรงก่อนสอย เป็นต้น  

การเนาไม่เท่ากัน เป็นการเนาที่มีความถี่ห่างของฝีเข็มสลับกันฝีเข็มถี่อยู่ด้านบนฝีเข็มห่างอยู่ด้านล่างเป็นการเนาที่ช่วยยึดผ้าให้ติดกันแน่นกว่าการเนาเท่ากันการเนาชนิดนี้ใช้เป็นแนวในการเย็บจักรได้ดีหรือใช้เนาเพื่อลองตัวเสื้อหรือกระโปรงเป็นต้น
 
การด้นผ้า
 
 
การด้น เป็นการเย็บด้วยมือที่ใช้แทนการเย็บด้วยจักรมีความทนทานมาก การด้นที่นิยมทั่วไปมี ดังนี้ 

การด้นตะลุย วิธีทำคล้ายการเนาเป็นการเย็บผ้า 2 ชิ้นให้ติดกันอย่างถาวรโดยแทงเข็มขึ้นและลงให้ฝีเข็มถี่ที่สุดใช้เย็บทั่วไปทำแนวรูดปะผ้า เป็นต้น 
อุปกรณ์ที่ใช้ในการด้นผ้า
1 กรรไกร
2 เข็มมุด
3 เข็ม
4 ด้าย
5 เศษผ้า

ขั้นตอนการด้นตะลุย
1 ร้อยด้ายผูกปม แทงเข็มจากด้านล่างขึ้นมาทางด้านบนของผ้าแล้วดึงขึ้น
 2 แทงเข็มลงไปด้านล่างแล้วแทงเข็มกลับขึ้นมาด้านบนโดยเว้นระยะฝีเข็มพอประมาณ
ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนสุดผ้าหรือตามความต้องการ

ประโยชน์ของการด้นตะลุย
1. ใช้ด้นเพื่อเย็บเกล็ดเสื้อ
2. ใช้ด้นเพื่อใช้ในการปะผ้า
3. ใช้ด้นเพื่อเย็บจีบรูด
4. ใช้ด้นเพื่อชุนผ้า
5. ใช้ด้นเพื่อยึดผ้าหลายๆชิ้น
6. ใช้ด้นเพื่อเย็บตะเข็บที่ต้องการให้เสร็จอย่างรวดเร็ว

  การด้นถอยหลัง เป็นการเย็บผ้า2ชนิดให้ติดกันโดยแทงเข็มขึ้นและย้อนกลับไปแทงเข็มด้านหลังให้มีเข็มมีความยาวเพียง?ของฝีเข็มแรงแทงเข็มลงแล้วดึงด้ายขึ้นทำเช่นนี้ไปจนสิ้นสุดตะเข็บตะเข็บชนิดนี้มีความทนทานมากด้านหน้าจะมีลักษณะฝีเข็มเหมือนการเย็บด้วยจักรส่วนด้านหลังด้ายเย็บซ้อนกันแน่นเหมาะสำหรับเย็บผ้าโดยทั่วไปที่ต้องการความทนทาน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการด้นผ้า
1 กรรไกร
2 เข็มมุด
3 เข็ม
4 ด้าย
5 เศษผ้า
 
 
ขั้นตอนการด้นถอยหลัง
1. ร้อยด้ายผูกปม
2. แทงเข็มจากด้านล่างขึ้นมา 
3. เว้นริมผ้าไว้นิดหน่อย 
สำหรับไว้เย็บถอยหลัง
4.  ดึงด้ายขึ้นมาปมจะอยู่ด้านล่าง   และมีเนื้อที่ริมผ้าที่เว้นไว้
5. แทงเข็มย้อนลงด้านล่างตรงริมผ้าที่เว้นไว้
6. แล้วแทงเข็มขึ้นมาด้านบนห่างจาก  เส้นด้ายเล็กน้อย 
7. ดึงด้ายขึ้น
8. จะเห็นฝีเข็ม 1 ฝีเข็ม  
9 ช่องว่างสำหรับเย็บถอยหลัง
10. แล้วแทงเข็มขึ้นมาด้านบนห่างจาก 
 เส้นด้ายเล็กน้อย  (เหมือนข้อ 6) 
11. ทำเหมือนเดิมต่อไปจนเสร็จ

ประโยชน์ของการด้นถอยหลัง
1. ใช้แทนการเย็บจักร เพราะมีความหนาและแน่นมาก
2. ใช้เย็บซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อที่ขาด
3. ใช้เย็บซ่อมแซมตะเข็บเสื้อที่ขาด
4. ใช้เย็บซ่อมแซมตะเข็บวงแขนเสื้อที่ขาด
5. ใช้เย็บซ่อมแซมตะเข็บเสื้อที่ขาด
6. ใช้ในการเย็บสิ่งประดิษฐ์ต่างๆเช่น ตุ๊กตา ถุงผ้า ฯลฯ
การสอยผ้า
 
การสอย เป็นการเย็บด้วยมือที่มองเห็นรอยเย็บทางด้านนอกน้อยที่สุดนิยมใช้สอยชายเสื้อชายกระโปรงชายขากางเกงหรือชายผ้าอื่น ๆ ที่ต้องการความสวยงามประณีตการสอยมีหลายชนิดที่นิยมใช้ทั่วไป มีดังนี้
การสอยซ่อนด้าย เป็นการสอยที่มองเห็นเส้นด้ายเย็บเพียงเล็กน้อย โดยแทงเข็มให้เข็มสอดในพับบทของผ้าให้กว้างช่วงละประมาณ 1 เซนติเมตร ก่อนแทงเข็มออกสะกิดเส้นด้ายจากผ้าชิ้นล่างประมาณ 1 – 3 เส้นแล้วสอดเข็มเข้าไปในเส้นทบผ้าแทงเข็มออกสะกิดเส้นด้ายจากผ้าชิ้นล่างทำเช่นนี้เรื่อยไปจนสิ้นสุดแนวที่ต้องการสอย
 
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอยซ่อนด้าย
1 กรรไกร
2 เข็มมุด
3 เข็ม
4 ด้าย
5 เศษผ้า

ขั้นตอนการสอยซ่อนด้าย
1. พับริมผ้าที่จะสอย
2. ร้อยด้ายผูกปมสอดเข็มเข้าใต้ริมผ้าส่วนที่พับแล้วแทงเข็มออกมา
3. แทงเข็มเกี่ยวผ้าชั้นล่างขึ้นมาเล็กน้อย แล้วสอดเข็มเข้าในริมผ้าที่พับดึงด้ายขึ้นแล้วแทงเข็มลงไปแบบเดิมอีก
4. ทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆจนเสร็จ

ประโยชน์ของการสอยซ่อนด้าย
1. ใช้สำหรับสอยชายเสื้อ
2. ใช้สำหรับสอยปลายแขนเสื้อ 
3. ใช้สำหรับสอยชายกระโปรง
4. ใช้สำหรับสอยชายกางเกง 
การสอยฟันปลา เป็นการสอยที่มองเห็นเส้นด้ายทางด้านผิดมากกว่าทางด้านถูกโดยแทงเข็มสะกิดเนื้อผ้าด้านบนและด้านล่างแล้วดึงเข็มดึงด้ายตามทำเช่นนี้ไปจนสิ้นสุดการเย็บการสอยชนิดนี้เป็นการสอยที่ให้ความทนทานนิยมใช้สอยชายกางเกงทั่วไปไว้เพื่อให้เย็บตรงตำแหน่งใช้ด้ายเย็บตรงกลางฐานก้านกระดุมกับตัวเสื้อไม่ดึง

 

2 ความคิดเห็น:

  1. รูปภาพอธิบายไม่สอดคล้องกับบทความ ภาพอธิบายยังคลุมเคือง

    ตอบลบ
  2. รูปภาพอธิบายไม่สอดคล้องกับบทความ ภาพอธิบายยังคลุมเคือง

    ตอบลบ